วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
       
>>> เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลงควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้



>>> ให้เผยแพร่ดัดแปลงโดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า



>>> ให้เผยแพร่โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลง



การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน

ภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์
         - การนำภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ไม่ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
         - รูปภาพและภาพถ่ายใช้ได้อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน)
         - ผู้สอนและผู้เรียนดาวน์โหลดภาพจากอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการศึกษาได้ในปริมาณเท่ากับ อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน)แต่จะอัพโหลดงานนั้นกลับขึ้นบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

ภาพที่มีลิขสิทธิ์
         - หากภาพประกอบนั้นมีการถ่ายภาพมาโดยมีการสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด ความพยายามในการจัดแสง มุมมองภาพที่แปลก หรือปรับแต่งภาพให้สื่อความหมายในรูปแบบต่าง ๆ แสดงว่าภาพนั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์
         - การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
         - การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์จากสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ นั้นมาดัดแปลงตกแต่งใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับของเดิมแสดงว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่ม
         การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่มนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะขัดต่อการได้รับประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนั้น

> สัญลักษณ์นี้ คือ เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลงควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้


ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่มีการใช้สัญลักษณ์ 
สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ 2 เว็บไซต์
>> การใช้สัญลักษณ์สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์
 http://www.trueplookpanya.com/ สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 2.0 Generic ท่านสามารถใช้งานดังกล่าวได้โดยต้องแสดงที่มา เว้นแต่ไม่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการค้า และไม่ให้ดัดแปลงผลงานดังกล่าวด้วย

























>> การใช้สัญลักษณ์สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์
http://www.thaihealth.or.th/
 สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 UnportedLicense. ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้ แสดง ดัดแปลง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานดัดแปลงต่อยอดที่เผยเผยแพร่ต่อด้วย

สาระของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


          มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท













วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

โครงสร้างองค์กร หมายถึง การจัดระบบในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้โดยการจัดสรรทรัพยากร การแบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งการจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย


ลักษณะแนวโน้มของโครงสร้างองค์กรในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
      1. องค์กรแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) ได้แก่
           1.1 โครงสร้างยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ติดยึดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การแบบเครื่องจักร มีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน
          1.2 มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
          1.3 มีการทำงานเป็นทีม(Team Work) ร่วมมือกัน
          1.4 เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance –Oriented) กฎระเบียบ จะกำหนดเท่าที่จำเป็น ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือในการทำงาน          1.5 การติดต่อสื่อแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกติดต่อได้ทุกระดับโดยตรง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชา

      2. องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
             เครือข่ายขององค์การซึ่งเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะแลกเปลี่ยนทักษะ ทรัพยากร การบริการ วัสดุสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึง การประชาสัมพันธ์ และเพื่อการลดต้นทุน รูปแบบองค์การไม่จำเป็นต้องมี 2 คนขึ้นไป อาจมีเพียง 1 คน หรือไม่มีก็ได้ เป็นประเภทหนึ่งขององค์การแบบเครือข่าย  Network Organization เชื่อมโยงด้วย IT รูปแบบองค์การเสมือนจริงมีหลายรูปแบบตั้งแต่ทำงานคนเดียวมีโน๊ตบุคเครื่องเดียวก็สามารถไปทำงานที่อื่นได้ เช่น การประมูลงานโดยใช้ Internet เมื่อได้งานก็มีทีมงานเกิดขึ้น แต่พองานเสร็จทุกคนก็จะแยกย้าย

      3. องค์การเครือข่าย (Network organization)
              เป็นผลรวมขององค์การอิสระหลายๆองค์การมาผูกเชื่อมโยงกันที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันหรือความต้องการเดียวกัน

เทคนิควิธีการออกแบบองค์การให้เป็นองค์การสมัยใหม่ (5S Model)
     1. Small คือ เป็นองค์การขนาดเล็ก แต่เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ 
     2. Smart คือ ดูดี ดูเท่ห์ ดูน่าเชื่อถือ ใช้คำว่าฉลาดเพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญา การจะทำให้เท่ห์ต้องมี ISO มีการประกันคุณภาพในระบบของ QA และกิจกรรมอื่นเช่น 5 ส. , TQA
     3. Smile คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมด้วยน้ำใจ ฉะนั้นคนในองค์การจะต้องทำงานอย่างมีความสุข ความสุขมีอยู่ 2 ฝ่าย1 ) คนทำงานมีความสุข 2 ) ลูกค้าผู้รับการบริการ โดยเริ่มที่พนักงานก่อนแล้วออกแบบองค์การให้เป็นองค์การที่มีความสุข สนุกในงานที่ทำมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ทำงานด้วยใจรัก รักงานอยากจะมาทำงาน
     4. Smooth คือ ไม่พูดเรื่องการขัดแย้ง จะพูดเรื่องการผนึกกำลังการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
     5. Simplify คือ ทำเรื่องสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายหรือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องที่ไม่สะดวกให้สะอาด ทำเรื่องที่ช้าให้เร็วขึ้น

สรุปแนวโน้มของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคต

       1. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการและให้บริการมากขึ้น
           2. มีการจัดการแบบองค์กรสมัยใหม่
           3. ให้บริการในรูปแบบ ศูนย์ศึกษาบันเทิง กล่าวคือเป็น แหล่งการเรียนรู้ที่รวบรวมรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ โดยเป็นลักษณะแบบทั่วไปที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน












คุณลักษณะผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

           ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง บุคคลที่ทาหน้าที่งานบริหารที่ดูแล ควบคุม สั่งการ แก้ปัญหา ให้งานในระดับปฏิบัติการดำเนินต่อไปให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ โดยตำแหน่งผู้จัดการศูนย์ มักเรียกเป็นผู้อำนวยการ หัวหน้า หรืออื่น ๆ ที่สื่อความหมายถึงผู้นำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ


        คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

          1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีความสามารถในการชี้้ทิศทางในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปบูรณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

          2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียนการสอน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอน

        3. โฆษก (Spokesperson) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องมีความสามารถเผยแพร่วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กรภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป

        4. ผู้ฝึกสอน (Coach)ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อนำวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คำปรึกษาให้คำแนะนาสร้างความไว้วางใจให้อำนาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน

        5. วิทยากร (Trainer) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ ให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ





     หลักการของผู้นำในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

        1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery) ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในความก้าวหน้าแห่งศาสตร์อยู่เสมอเช่นเดียวกับต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์วิชาชีพของตนเอง

        2. แบบแผนการคิดอ่าน(Mental models) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีทักษะการคิดอย่างใคร่ครวญ (Reflection) เพื่อเป็นการตรวจว่าความคิดใดความเชื่อใดมีผลดีผลเสียต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด

        3. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสานวิสัยทัศน์กับบุคคลอื่นๆ ในองค์กรเพื่อที่จะหาจุดร่วมที่ดีที่สุดและเป็นสร้างความเท่าทันในทิศทางที่จะก้าวไปข้างหน้า

        4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสร้างการเรียนรู้เป็นทีมที่สมาชิกในทีมต้องมีความสามารถในการคิดตีปัญหาหรือประเด็นให้กระจ่างอีกทั้งภายในทีมต้องรู้จักประสานกันอย่างดีคิดในสิ่งใหม่และแตกต่างไว้วางใจซึ่งกันและกันสมาชิกทุกคนต้องมีการสร้างระบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่องสิ่งเหล่านี้ย่อมนำไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

        5. การคิดอย่างเป็นระบบ(System thinking) ผู้จัดการศูนย์จะต้องมีวิธีการคิดที่เห็นภาพระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอนรวม ระบบการให้บริการสื่อไปถึงระบบสังคมโดยรวมเห็นทั้งหมดมีกรอบที่เห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเห็นในเชิงเหตุเชิงผลเห็นแนวโน้มมากว่าที่จะเห็นแค่ฉาบฉวยเพื่อที่จะสามารถนำมาวางแผนเทคโนโลยีให้แก่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ










วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา


ประวัติ

            สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย พัฒนามาจากห้องอ่านหนังสือ ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยใช้ห้องเลขที่ 203 ในอาคารเรียนของวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่อาคารอำนวยการ โดยได้ใช้ห้องชั้นล่างของอาคารเป็นที่ปฏิบัติงานจนถึงปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ในห้องโถงชั้นล่างของอาคารเรียนซีกหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 วิทยาลัยได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นเอกเทศ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2516

         เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ วิทยาเขตบางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา ตามลำดับนั้น ในปีงบประมาณ 2536-2539 สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “อาคารเทพรัตนราชสุดา” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538


วิสัยทัศน์

มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการสารสนเทศ ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อความเป็นมาตรฐานสากล

เป้าหมายการดำเนินงาน

1. เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้บรรลุตามภารกิจหลัก 4 ประการ คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน และการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

2. เพื่อจัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ

3. เพื่อจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงตามความต้องการโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

4. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน

สำนักหอสมุดแบ่งการดำเนินดังนี้

สำนักงานเลขานุการ

              สำนักงานเลขานุการ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานได้แก่ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล จัดทำแผนและงบประมาณ อาคารสถานที่และยานพาหนะ ประชาสัมพันธ์ การเงินบัญชีและพัสดุ โดยอำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่างสำนักหอสมุดกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

              ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบงาน 4 ลักษณะดังนี้

         1. วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยี ทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุด โดยการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับการพัฒนางาน

       2. งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การพัฒนาหรือบริหารงานห้องสมุด

       3. งานฐานข้อมูล ดูแลรับผิดชอบฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ฉบับเต็ม ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษระปริญญาตรี และฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการสารสนเทศ รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์สำนักหอสมุด

      4. งานเว็บไซต์ ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด

      5. งานบริการดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้หน่วยงานต่าง ๆทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติบริการการติดตั้งรวมถึงดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการที่ร้องขอ

     6. งานฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรในระดับต่าง ๆ

ฝ่ายบริการสารสนเทศ

              ฝ่ายบริการสารสนเทศ ทำหน้าที่ให้บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์ แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ ดังนี้

- งานยืม-คืน

             - บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์

            - บริการยืมระหว่างห้องสมุด

           - รับสมัครสมาชิกห้องสมุด

          - ตรวจสอบหนี้สินของสมาชิกห้องสมุด

         - แจ้งสื่อเกินกำหนดส่งและแจ้งวันกำหนดส่งสื่อล่วงหน้าแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย

        - งานส่งเสริมการใช้บริการ

        - ฝึกอบรมการใช้ห้องสมุดและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

        - แนะนำการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

       - แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด

      - บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

- งานบริการผู้อ่าน

       - ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ

      - ตรวจสอบหนังสือที่มีสภาพชำรุดและจัดส่งไปบำรุงรักษา

      - พื้นที่บริการ

   ชั้น 2

          1. สมัครสมาชิกห้องสมุด

          2. ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์, ยืมระหว่างห้องสมุด

         3.สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

        4. หนังสือภาษาต่างประเทศ

        5. มุมหนังสือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Corner), มุมต่อต้านการค้ามนุษย์, มุมคุณธรรม

   ชั้น 3

      1. ยืม-คืนหนังสือ/ วิทยานิพนธ์

      2. หนังสือภาษาไทย, นวนิยาย, เรื่องสั้น, หนังสือเด็ก

   ชั้น 5

       1. ยืมหนังสือ/ วิทยานิพนธ์

       2. ฝึกอบรม/ แนะนำการใช้ห้องสมุด

       3. สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

       4. วิทยานิพนธ์, หนังสืออ้างอิง, หนังสือหายาก, ราชกิจจานุเบกษา, สารสนเทศภาคตะวันออก, จุลสาร, กฤตภาค

   ชั้น 7

       1. หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

       2. หนังสือภาษาไทย พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526

       3. หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ. 1970

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

               ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย

งานพัฒนาทรัพยากร

    - นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

    - การสั่งซื้อหนังสือ

งานบำรุงหนังสือ

    - นโยบายการบำรุงรักษาหนังสือ

     - การใช้และการบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ

ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

              ทำหน้าที่วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิธีการต่าง ๆ มา ใช้ในการดำเนินงานสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ฝ่ายเอกสารและวารสาร

             ฝ่ายเอกสารและวารสาร มีขอบเขตความรับผิดชอบดำเนินการคัดเลือก การจัดหา ตรวจรับลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และจดหมายข่าว การจัดทำรายการบรรณานุกรมวารสาร การจัดทำดัชนีวารสารการจัดทำหน้าสารบัญวารสาร การจัดทำวารสารสถาบันฉบับเต็ม การเย็บเล่มวารสาร และการดูแลห้องอ่านวารสาร

ฝ่ายโสตทัศนศึกษา

             ฝ่ายโสตทัศนศึกษา เป็นหน่วยงานหนึ่งในงานบริการการศึกษา สังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา บริการยืม-คืน สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สมาชิก บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ โดยให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ตลอดจน ให้บริการ VIDEO/CD on Demand รายการภาพยนตร์ และนิทรรศการออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด

- งานบริการ

        - บริการอินเทอร์เน็ต

       - บริการจัดแสดงสื่อใหม่

       - บริการห้องมินิโฮมเธียเตอร์

       - บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

      - บริการยืม-คืนสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

     - บริการขอใช้สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เร่งด่วน

     - บริการปริ้นท์ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตด้วยเครื่องพิมพ์มีทั้งขาวดำ และสี

     - บริการจองสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง WEB OPAC

    - บริการแปลงสัญญาณเทปวีดิทัศน์เป็นวีซีดีหรือแปลงสัญญาณวีซีดีเป็นเทปวีดิทัศน์

     - บริการ Video on Demand, CD on Demand

      - บริการนิทรรศการออนไลน์

- งานเทคนิค

    - งานคัดเลือก จัดหาสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    - งานสแกนภาพปกตัวอย่างสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    - งานทำสำเนาสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    - งานจัดเตรียมสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ งานพิมพ์สติกเกอร์ ลาเบล ติดบาร์โค๊ด

    - เพื่อให้บริการสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทางวิชาการ, สารคดีและบันเทิงคดี

   - งานจัดการโสตทัศนูปกรณ์ประจำศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและห้องประชุม ได้แก่ การควบคุมดูแลอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องขยายเสียงเครื่องเล่นวิดีโอเทปเครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องรับโทรทัศน์และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  - งานจัดนิทรรศการ


โครงสร้างการบริหาร




หลักการดำเนินงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหลักการจัดการ โดยการใช้คน ทรัพยากร เทคนิคต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ หรือแผนงานที่วางไว้

ทรัพยากรในการจัดการ ตามหลัก 4MA 2MO 1ME

        1. Man : คน
        2. Materials : วัสดุ
        3. Machine : เครื่องจักร
        4. Market : การตลาด/การประชาสัมพันธ์
        5. Money : งบประมาณ
        6. Moral : ขวัญ กำลังใจ
        7. Method : วิธีการ

กระบวนการบริหารจัดการ (POSDC0RB)

      1. การวางแผน Planing
      2. โครงสร้างองค์กร Organizing
      3. จัดคนเข้าทำงาน Staffing
      4. อำนวยการ/การสั่งการ Directing
      5. การประสานงาน Co-ordination
      6. การรายงาน Reporting
      7. งบประมาณ Budgeting











ศึกษาดูงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา










วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเภท และหลักการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้




ประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้

                ทรัพยากรการเรียนรู้ที่จัดให้บริการกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัย แบ่งได้ 3 ประเภท   
ได้แก่

           1. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์ 


           2. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์



            3. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง1                                             อ้างอิง2

               ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ คือ สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์  มีชื่อเรียกว่า สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและสังคม ข่าวการศึกษา ข่าวกีฬา ข่าวธุรกิจ ข่าวบันเทิง บทความทางวิชาการ และ สาระน่ารู้ เป็นต้น


หลักการคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้ 

           - กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทให้ชัดเจน

           - ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ

           - เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน

           - เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์

           - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป

           - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง

           - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ราคาไม่แพงเกินไป

           - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
 วิธีการได้มาซึ่งทรัพยากรการเรียนรู้ในการให้บริการ

          1. จัดซื้อ ตามความต้องการของหน่วยงานเป้าหมายที่จะมาใช้บริการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้                      ได้แก่

               1.1 สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ

               1.2 สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจำหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ

               1.3 เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ

               1.4 จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

        2. รับบริจาค : องค์กร/หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูล บุคคล

        3. ผลิตเอง : วีดิทัศน์ ภาพถ่าย บันทึกการประชุม/สัมมนา สแกนภาพ



        4. แลกเปลี่ยน : ในการให้บริการระหว่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในเครือข่าย





















การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน

          การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อๆ ไปให้มีความเป็นระบบ ระเบียบในการจัดการศูนย์และทำให้ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



alt



THANK  YOU  

การประสานงาน


สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงาน

        1. การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
        2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
        3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี
        4. มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
        5. การประสานงานโดยวิธีควบคุม

          1. การจัดวางหน่วยงานที่ง่าย (Simplified Organization) ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
              ก. การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน คือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจำเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทำงานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น
             ข. การแบ่งตามหน้าที่ 
             ค. การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง


          2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องต้องกัน (Harmonized Program and Policies)

          3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well – Designed Methods of Communication)

               เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่

                 ก. แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers)
                 ข. รายงานเป็นหนังสือ (Written report)
                 ค. เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายใน โรงพิมพ์ เป็นต้น

          4. เหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination)
การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

         5. ประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision)
หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดำเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น

เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination)         

          1. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
          2. การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
          3. การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
          4. การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
          5. การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
          6. การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
          7. การติดตามผล

อุปสรรคของการประสานงาน 




       1. การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถ กระทำได้
       2. การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
       3. การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่นๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
       
      4. การก้าวก่ายหน้าที่การงาน 
       5. การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้การทำงานเป็นระบบที่ไม่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
      6. การขาดการนิเทศงานที่ดี
      7. ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
      8. การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
      9. ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
    10. การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
    11. ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
    12. เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป



ขอบคุณค่ะ